หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

การขุดเสาเฮือน

การขุดเสาเฮือน


          การขุดเสาเฮือนนั้น โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า การปลูกเฮือนนั้น ต้องปลูกบนดิน ซึ่งในพื้นดินนั้น เป็นที่สถิตย์ของพระแม่ธรณี และพญานาคดิน (ที่อาศัยภายใต้พื้นดิน) เป็นผู้ปกปักษ์รักษาอยู่ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตย์ภายใต้พื้นดิน โบราณาจารย์ท่านว่า ก่อนที่จะขุดเสาเฮือนนั้น เราควรประกอบพิธีย้ายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และทำให้ถูกต้องตามโครงสร้างของการสถิตย์อยู่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ใต้พื้นดิน เพื่อให้สามารถทำพิธีได้อย่างถูกต้อง กล่าวคือ การพิจารณาถึงการสถิตย์อยู่ของพญานาคดิน ซึ่งต้องรู้ว่า การทอดตัวของพญานาคดินที่อยู่ใต้พื้นดินเป็นเช่นไร เช่น ทิศของหัว ลำตัว ท้อง หางของพญานาค อยู่ทิศทางใดบ้าง เพื่อเป็นการป้องกันพิษของพญานาคที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเฮือนของเรา ซึ่งโบราณาจารย์ท่านได้สรุปไว้ดังนี้

การย้ายพระแม่ธรณี

          หลังจากที่เจ้าของเฮือนมีแผนการณ์ที่จะที่ปลูกเฮือนแล้ว และก่อนที่จะทำการขุดดินเพื่อตั้งเสาเอกของเฮือนนั้น โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ให้ทำการตรวจสอบแล้วย้ายพระแม่ธรณี และสิ่งของต้องอาถรรพ์ต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ปลูกเฮือนก่อน เพื่อให้เฮือนมีความอยู่ดีมีสุข
       
          โบราณาจารย์ท่านได้บอกวิธีการย้ายพระแม่ธรณี และสิ่งของต้องอาถรรพ์ต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ปลูกเฮือนไว้ คือ ให้ผู้ประกอบพิธี (ควรเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีศีลธรรม "ผู้ชาย" หรือผู้ชายที่เป็นเจ้าของเฮือน) นำธูป-เทียนเหลือง ๑ คู่ ดอกไม้ขาว ๑ คู่ แต่งใส่พานหรือขันเงิน นำผ้าขาวพาดบ่า (ห่มเฉลียงบ่า เหมือนห่มสะไบ) อยู่บริเวณกลางลานที่จะปลูกเฮือน พร้อมกล่าวคาถาว่า
"อุกาสะ ผู้ข้าน้อย ขออัญเชิญพระแม่ธรณีมีความกรุณาขยับบ้านออกจากพื้นที่ที่ลูกจ้างจะปลูกเฮือน เพราะถ้าลูกได้ปลูกเฮือนแล้ว จะสร้างสิ่งสกปรกทั้งหลายต่อพระแม่ธรณี จึงขออัญเชิญพระแม่ธรณีขยับขยาย ย้ายออกไปอยู่ข้างเฮือน และขอให้พระแม่ธรณีคอยปกปักษ์รักษาให้ผู้อยู่อาศัยในเฮือนนี้ ให้อยู่เย็นเป็นสุข อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจ ขอให้พระแม่ฯ นำและมอบสิ่งอันเป็นสิริมงคลมอบให้กับผู้อยู่อาศัย และขอให้พระแม่ฯ นำเอาสิ่งร้าย สิ่งไม่ดีทั้งหลาย ออกไปจากชีวิตของผู้อยู่อาศัย คงเหลือไว้แต่สิ่งอันเป็นสิริมงคล แก่ข้าพเจ้าฯ ผู้อยู่อาศัยด้วยเทอญ" จากนั้น นำเอาธูป-เทียนนั้นไปวางไว้ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ที่จะปลูกเฮือน

การหลบเลี่ยงพิษของพญานาค

          ในเดือนที่เป็นสิริมงคลที่เหมาะสมในการปลูกเฮือนนั้น (ดูได้ที่ http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=7669986278802652256#editor/target=post;postID=5100372714397925831) ได้แก่ เดือน ๑, ๒, ๔, ๖, ๙ และเดือน ๑๒ โดยเจ้าของบ้านควรรู้ว่าในแต่ละเดือน ส่วนใดของพญานาคดินอยู่ทิศทางใด จะได้โกยและกองดินที่ขุดออกมา วางเสาแฮก (เสาเอก) ไว้ในทิศทางใด จึงจะพ้นจากพิษของพญานาคดิน ซึ่งโบราณาจารย์ได้ว่าไว้ดังนี้
  • เดือนอ้าย (๑) และเดือนยี่ (๒)
    หัวของพญานาคดินจะหันไปทางทิศทักษิณ (ทิศใต้)
    หลังของพญานาคดินจะหันไปทางทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
    ท้องของพญานาคดินจะหันไปทางทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก)
    หางของพญานาคดิน จะหันไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ)

    โบ ราณาจารย์ท่าว่าไว้ว่า เวลาที่เข้าไปทำการขุดดินนั้น ให้เข้าทางทิศท้องนาค (ทิศปัจฉิม-ทิศตะวันตก) โดยให้โกยดินไปไว้ทางทิศท้องนาค (ทิศปัจฉิม-ทิศตะวันตก) เช่นกัน
  • เดือนสี่ (๔) และเดือนหก (๖)หัวของพญานาคดินจะหันไปทางทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก)
    หางของพญานาคดิน จะหันไปทางทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
    หลังของพญานาคดินจะหันไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ)
    ท้องของพญานาคดินจะหันไปทางทิศทักษิณ (ทิศใต้)

    โบราณาจารย์ท่าว่าไว้ว่า เวลาที่เข้าไปทำการขุดดินนั้น ให้เข้าทางทิศท้องนาค (ทิศทักษิณ-ทิศใต้) โดยให้โกยดินไปไว้ทางทิศอาคะเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) โดยให้วาง/หันปลายเสาแฮกไปทางทิศอาคะเนย์ด้วย

  • เดือนเก้าหัวของพญานาคดินจะหันไปทางทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
    หางของพญานาคดินจะหันไปทางทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก)
    หลังของพญานาคดินจะหันไปทางทิศทักษิณ (ทิศใต้)
    ท้องของพญานาคดินจะหันไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ)

    โบ ราณาจารย์ท่าว่าไว้ว่า เวลาที่เข้าไปทำการขุดดินนั้น ให้เข้าทางทิศอุดร (ทิศเหนือ) โดยให้โกยดิน และหันปลายเสาแฮกไปในไปไว้ทางทิศอาคะเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) โดยให้เอาเสาแฮกไปวางให้หันปลายเสาไปทางทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
  • เดือนสิบสอง 
    หัวของพญานาคดินจะหันไปทางทิศอุดร (ทิศเหนือ)
    หางของพญานาคดินจะหันไปทางทิศทักษิณ (ทิศใต้)
    หลังของพญานาคดินจะหันไปทางทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)
    ท้องของพญานาคดินจะหันไปทางทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก)

    โบราณาจารย์ท่าว่าไว้ว่า เวลาที่เข้าไปทำการขุดดินนั้น ให้เข้าทางทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก) โดยให้โกยดินไปไว้ทางทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)
การบูชาพญานาคดิน

          โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า เพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเฮือน ต้องทำการเซ่นไหว้ต่อพญานาคดิน ผู้สถิตย์อยู่ใต้พื้นดิน โดยต้องประกอบด้วยธูป-เที่ยน และอื่น ๆ ดังนี้
  • วางโต๊ะบูชาไว้ในทิศหัวของพญานาค นำขนม-ของหวาน (เช่น บวดฟักทอง) ใส่ถ้วยวางไว้ในพาน/ถาด พร้อมทั้งนำธูป เที่ยน และดอกไม้อย่างละ ๕ คู่ วางไว้บนโต๊ะบูชา
  • ทำธงใส่หลัก (ใช้ไม้ไผ่ซีกทำหลัก) นำไปปักไว้ข้างโต๊ะบูชาทั้งข้างซ้าย-ขวา ซึ่งสีของธงที่ใช้ให้ดูตามดังนี้

  • ว่าคาถา "อะยัง มะหานาโค อิทธิมันโต ชุติมันโต อิมินา สักกาเรนะ มะหานาคัง ปูเชมิ"


การขุดเสา

          เมื่อได้ทำพิธีจัดโต๊ะบูชาไว้เรีัยบร้อยแล้ว ให้จัดเตรียมเครื่องมือสำหรับขุดหลุม โดยใช้ไม้คูณ หรือ ไม้ยอ ทำเป็นด้ามเครื่องมือขุด (จอบ หรือ เสียม) สำหรับขุดเสาแฺฮก ส่วนเสาต้นอื่น ๆ จะใช้อะไรทำด้ามก็ได้ คนที่จะขุดนั้น ให้ตั้งชื่อที่เป็นมงคล เช่น ท้าวเงิน ท้าวทอง เป็นต้น

          การขุดหลุมเสานั้นย่อมต้องพบของที่อยู่ใต้พื้นดิน ซึ่งบางสิ่งก็เป็นสิริมงคล และบางสิ่งก็เป็นสิ่งอัปมงคล โบราณาจารย์ท่านได้บอกกล่าววิธีปฏิบัติเมื่อขุดพบสิ่งของที่อยู่ใต้พื้นดิน ในขณะขุดเสา ดังนี้
  • พบกระดูก โบราณาจารย์ท่านว่า ให้เอาน้ำสะอาด-บริสุทธิ์สรงแก้ว แหวน เงิน ทอง ของมีค่า แล้วนำมารดลงที่หลุม เพื่อล้างอาถรรพ์ และเป็นสิริมงคล
  • พบเศษเชือก ผม หรือ เส้นขน โบราณาจารย์ท่านว่า ให้เอาน้ำพระพุทธมนต์มารดลงที่หลุม เพื่อล้างอาถรรพ์ และเป็นสิริมงคล
  • พบไม้ทราง โบราณาจารย์ท่านว่า ให้นิมนต์พระสงฆ์ มาจะเจริญพระพุทธมนต์ แล้วให้เอาน้ำพระพุทธมนต์มารดลงที่หลุม เพื่อล้างอาถรรพ์ และเป็นสิริมงคล
  • พบอิฐ หรือ ดินเหมือนขี้หนู  โบราณาจารย์ท่านว่า ให้นำเอาน้ำผึ้งแท้-บริสุทธิ์มารดลงที่หลุม เพื่อล้างอาถรรพ์ และเป็นสิริมงคล
  • พบของไม่ดีอื่น ๆ โบราณาจารย์ท่านว่า ให้นำดอกบัวหลวง และหญ้าแพรก ใส่ลงไปในหลุม แล้วนำเอาน้ำสรงพระพุทธรูปรดลงที่หลุม เพื่อล้างอาถรรพ์ และเป็นสิริมงคล
          หลังจากขุดหลุมเสาแฮกเสร็จแ้ล้ว ก่อนที่จะนำเสาแฮกทางหัวนอนลงหลุม ให้เขียนคาถา "ปู่ก่อสร้างเป็นอาชญ์เฮือนหิน เงินคำมีหมื่นกือกองล้น" ต้นเสาขวัญทางตีนนอน ให้เขียนคาถา "หลานก่อสร้างเป็นอาชญ์เฮือนหิน เงินคำมีหมื่นกือกองล้น" แล้วเอาใส่หลุมเสาดังกล่าว



ลักษณะพื้นที่ที่ไม่ควรปลูกเฮือน

  • พื้นดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โบราณาจารย์ท่านว่า ไม่ควรปลูกเฮือน เพราะมีลักษณะของโลงผี จะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีแต่ความเจ็บป่วย ท่านแนะนำวิธีแก้โดยการแบ่งพื้นที่ออกส่วนหนึ่ง เพื่อปลูกสวนผลไม้ สวนดอกไม้ก่อน จะได้ดอกได้ผลแล้ว ค่อยปลูกเฮือน จะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง 
  • พื้นดินรีแหลมยาวรูปธง โบราณาจารย์ท่านว่า ไม่ควรปลูกเฮือน โดยต้องแก้ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกส่วนหนึ่ง เพื่อปลูกสวนผลไม้ สวนดอกไม้ก่อน จะได้ดอกได้ผลแล้ว ค่อยปลูกเฮือน จะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง
  • ปลูกเฮือน กวมตอไม้ใหญ่ โบราณาจารย์ท่านว่า จะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยไม่ได้ขาด เพราะในตอไม้ใหญ่ย่อมมีภูตผีสิงสู่อยู่ ท่านแนะนำให้ขุดตอไม้ออกให้หมดเสียก่อน แล้วค่อยปลูกเฮือน
  • ปลูกเฮือนอกแตก โบราณาจารย์ท่านว่า การปลูกเฮือน ๒ หลัง แต่ทำชายคาเฮือนไม่ติดกัน ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีเรื่องขุ่นข้องหมองใจ และทะเลาะเบาะแว้งกันตลอดเวลา
  • ปลูกเฮือนหงำเฮือน โบราณาจารย์ท่านว่า การปลูกเฮือน ๒ หลัง ค่อมกัน โดยปลูกเฮือนหลังใหญ่ที่มีเสาแฮก แล้วปลูกเฮือนหลังใหม่ค่อม ท่านว่า จะก่อให้เกิดผลร้าย ผู้อยู่อาศัยยากจน ไม่มีคนยำเกรง มีแต่คนคอยข่มเหงรังแก

วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

การปลูกเฮือน

การปลูกเฮือน


          บ้าน หรือ เรือน หรือ เฮือน คือ สถานที่ที่เราต้องอยู่อาศัยมากกว่าสถานที่อื่น ๆ โดยหากเราปลูกบ้านได้ถูกต้องตามโฉลกแล้ว จะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยมีความสุข ร่มเย็น แต่หากว่า เราได้ปลูกบ้านไม่ถูกต้องตามวิธีและโฉลกของผู้เป็นเจ้าของ จะทำให้เกิดความเดือดร้อน ทุกข์ใจ เศร้าหมอง อยู่ตลอดเวลา

ผลของการปลูกเฮือนตามวัน
  • วันอาทิตย์ โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้านในวันนี้ เนื่องจาก จะก่อให้เกิดความวิบัติ เกิดความจัญไรต่อผู้อยู่อาศัย
  • วันจันทร์ โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ผู้อยู่อาศัยจะได้โชคลาภ (ผ้าผ่อนท่อนสะไบ)
  • วันอังคาร โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้านในวันนี้ เนื่องจาก จะได้รับอันตรายจากไฟ
  • วันพุธ โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ผู้อยู่อาศัยจะได้โชคลาภ (ลาภที่เป็นของสีขาวเหลือง)
  • วันพฤหัสบดี โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า (เป็นฤกษ์ที่ดีมาก) ผู้อยู่อาศัยจะได้โชคลาภอยู่เนือง ๆ และมีความสุขตลอดเวลา
  • วันศุกร์ โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้านในวันนี้ เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะมีความสุขและความทุกข์เสมอกัน
  • วันเสาร์ โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้านในวันนี้เป็นอันขาด เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะเกิดคดีความ มีคนอิจฉาริษยา มีคนรังแกเบียดเบียน และมีความเดือดร้อนตลอดเวลา

ผลของการปลูกเฮือนตามเดือน

เดือนอ้าย (เดือน ๑)
โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ผู้อยู่อาศัยจะทำมาค้าขึ้น ร่ำรวย มีเงินมีทอง เป็นเศรษฐีเพราะธุรกิจการค้า  

เดือนยี่ (เดือน ๒)
โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ผู้อยู่อาศัยจะมีความแคล้วคลาด ปลอดภัยจากผู้ปรองร้ายและศัตรคู่อาฆาต  

เดือนสาม (เดือน ๓)  
โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้าน เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะมีภัยจากผู้ปรองร้ายและศัตรคู่อาฆาต  

เดือนสี (เดือน ๔)
โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ผู้อยู่อาศัยจะมีโชคลาภ และมีความสุขกายสุขใจ  

เดือนห้า (เดือน ๕) 
 โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้าน เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะมีความทุกข์ทั้งกายและใจ 

เดือนหก (เดือน ๖)
โบราณจารย์ท่านว่าไว้ว่า ผู้อยู่อาศัยจะมีเงินไหลมาเทมา ร่ำรวย 

เดือนเจ็ด (เดือน ๗)  
โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้าน เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะได้รับอันตรายต่อทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ ทั้งไฟไหม้ และโดนลักขโมย 

เดือนแปด (เดือน ๘)  
โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้าน เนื่องจาก ทรัพย์สิน เงินทอง ที่เก็บสะสมไว้ จะหมดไป 

เดือนเก้า (เดือน ๙)
โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ให้เร่งปลูกบ้านในเดือนนี้ เพราะจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ถ้ารับราชการ จะได้รับการปูนบำเหน็จรางวัล 

เดือนสิบ (เดือน ๑๐)
โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้าน เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะได้รับโทษทันฑ์ มีคดีความ และเจ็บป่วยอยู่เนือง ๆ 

เดือนสิบเอ็ด (เดือน ๑๑) 
 โบราณาจารย์ท่านห้ามปลูกบ้าน เนื่องจาก ผู้อยู่อาศัยจะถูกคนหลอกลวงเอาทรัพย์สิน เงินทอง และสิ่งที่หวงแหนไป 

เดือนสิบสอง (เดือน ๑๒) 
 โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ให้เร่งปลูกบ้านในเดือนนี้ เพราะจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจริญก้าวหน้า มั่งมีศรีสุข ร่ำรวยทั้งทรัพย์สินเงินทอง ช้างม้าวัวควาย ตลอดจนข้าทาสบริวารที่ซื่อสัตย์

สมรสผิดสมพงษ์

สมรสผิดสมพงษ์


          มีคู่รักหลายคู่ที่กำลังจะแต่งงานกัน ได้ฤกษ์งาม-ยามดีแล้ว แต่มีทั้งหมอดู-หมอเดาทักว่า ดวงไม่สมพงษ์กัน ถ้าแต่งงานกันแล้ว จะมีปัญหาในการครองชีวิตคู่ โบราณาจารย์ท่านให้แก้โดย ก่อนเริ่มทำพิธีสู่ขวัญให้หมอพราหมณ์ผู้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ สลักชื่อ-นามสกุลของเจ้าบ่าว-เจ้าสาว (และใช้นามสกุลของเจ้าบ่าว) ลงในเทียนที่อยู่บนยอดของพาขวัญ (พานบายศรี) จากนั้นเอาเทียนที่สลักชื่อ-นามสกุลแตะที่หน้าผากของเจ้าบ่าว-เจ้าสาว แล้วเอาเทียนไว้ในมือ นั่งพนมมือหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แล้วว่าคาถาดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (๓ จบ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมัง คะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมัง คะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมัง คะลัง

ปุพเพวะ สันนิวาเสนะ ปัจจุปันนะหิเตนะ วา เอวันตัง ชายะเต เปมัง อุปะลัง วะ ยะโถทะเก

โอมสิทธิการิยะ ทุกคนเกิดมาในวัฏฏะสังสาร กำหนดกาลเวลาเองบ่ได้ พ่อแม่เลี้ยงใหญ่แล้วจั่งมาฮักกัน สมพงษ์เดือน ปี บ่ถืกกัน เผิ่นว่า แต่งงานแล้ว สิขัดข้องเมื่อยามลุน ขอให้คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพท่อนไท้ องค์เผิ่นผู้ให้กำเนิดดวงชะตา จัดลัคนาให้ถืกต้อง อย่าได้ขัดข้องเมื่อเป็นชีวิตครอบครัว ทั้งท้าว (กล่าวชื่อ นามสกุล และอายุของเจ้าบ่าว) และนาง (กล่าวชื่อ นามสกุล และอายุของเจ้าสาว) ไดเป็นผัวเป็นเมียกันแล้ว จงให้อยู่สะวัสสะดี ให้เป็นคนมั่งมีบ่ยากไฮ้ อายุกะให้ได้ฮ้อยปี พันวัสสา ด้วยฤทธาพระรัตนตรัยเจ้า ทั้งผู้เป็นฮากเหง้าประเมศวร ตามกระบวนของโองการบุุพเพสันนิวาส

โส อัตถุลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห ฆะราวะเส อะโรโค สุขิโต โหหิ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ชะยะสิทธิธะนัง ลาภัง
สา อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา ฆะราวะเส อะโรคา สุขิตา โหหิ  สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ชะยะสิทธิธะนัง ลาภัง
เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา ฆะราวะเส อะโรคา สุขิตา โหถุ สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชะโย นิจจัง สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธิ ภะวันตุ โว


***จากนั้นก็ให้พรคู่บ่าว-สาวตามธรรมเนียม และให้คู่บ่าว-สาวปฏิบัติตามฆราวาสธรรม อันประกอบด้วย 
  • สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์
  • ทมะ คือ การฝึกตน
  • ขันติ คือ ความอดทน
  • จาคะ คือ ความเสียสละ

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

ฤกษ์แต่งงาน

ฤกษ์แต่งงาน


          โบราณาจารย์ท่านแสดงความเห็นเอาไว้ว่า การประกอบพิธีการแต่งงานนั้น ถือเป็นพิธีที่สำคัญของช่วงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจาก โบราณาจารย์ท่านเห็นว่า การที่จะนำเอาคน ๒ คน คือ ๑ หญิง ๑ ชาย มาเริ่มต้นใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน เพื่อสร้างรากฐานของครอบครัวนั้น ฤกษ์ที่จะประกอบพิธีนั้น จะก่อให้เกิดความเจริญ หรือ เสื่อม นั้น นอกจากความสมพงษ์ระหว่างคู่บ่าวสาวแล้ว ยังต้องคำนึงถึงฤกษ์ยามของการประกอบพิธีแต่งงานด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ฤกษ์มงคลสำหรับแต่งงาน
          ๑. เดือนที่นิยมแต่งงาน คือ เืดือนที่ได้แก่ เดือนคู่ที่เหมาะสมในการมีคู่ ได้แก่ เดือนยี่ (เดือน ๒), เดือนสี่ (๔), เดือนหก (๖), เกือนสิบ (๑๐), และเดือนสิบสอง (๑๒) และยังมีเดือนคี่ ซึ่งได้แก่ เดือนเก้า (๙)
          ๒. วันที่นิยมแต่งงาน นิยมใช้เอาวันข้างขึ้น-ข้างแรม ซึ่งไม่เกี่ยวกับวันที่และวันในแต่ละสัปดาห์ โดยถือเอาว่า วันหัวเฮียง (ร่วมเรียงเคียง) หมอน เป็นวันอันเป็นศิริมงคล
          ๓. วันหัวเฮียงหมอน ในงานวันแต่งงาน โบราณาจารย์ท่านให้ถือเอาวัน หัวเฮียงหมอน (หัวเคียงหมอน) ไว้เป็นหลัก ยกเว้น วันจม แต่จะตรงกับ วันฟู หรือไม่ ไม่ต้องกังวล ซึ่งวันหัวเฮียงหมอน มีวันดังนี้
              

ฤกษ์ห้ามแต่งงาน
          ๑. ข้างขึ้น 

  
          ๒. ข้างแรม

ฤกษ์ที่ห้ามทำพิธีมงคล

ฤกษ์ที่ห้ามทำพิธีมงคล


          จากคติของโบราณาจารย์ และบรรพชนคนอีสาน กล่าวไว้่ว่า สงฆ์ ๑๔, นารี ๑๑, สมรส ๗, ปลงศพ ๑๕ นั้น ไม่มีความเป็นมงคลเอาซะเลย จึงต้องห้ามการกระทำพิธีกรรมใด ๆ เป็นอันขาด ซึ่งหากจะกล่าวถึงความหมายของคำต่าง ๆ ก็มีได้ดังนี้
          ๑.  สงฆ์ ๑๔ นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า พระสงฆ์จำนวน ๑๔ รูป แต่หากหมายความว่า ห้ามการทำกิจกรรมทุกอย่างเกี่ยวกับพระสงฆ์ในวันขึ้น-วันแรม ๑๔ ค่ำ เช่น การบวชนาค หรือการนิมนต์พระในงานพิธีต่าง ๆ ซึ่งโบราณาจารย์บอกเอาไว้ว่า หากกระทำพิธีกรรมใดดังกล่าว จะก่อให้เกิดความวิบัติต่อเจ้าของงาน
          ๒. นารี ๑๑ นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า ผู้หญิง ๑๑ คน แต่หากหมายความว่า ในวันขึ้น-วันแรม ๑๑ ค่ำ ห้ามกระทำพิธีกรรมมงคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง (นารี) เช่น งานแต่งงาน เป็นต้น
          ๓. สมรส ๗ นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า การสมรส หรือ แต่งงานพร้อมกัน ๗ คู่ แต่หากหมายความว่า ห้ามทำพิธีแต่งงาน (สมรส) ในวันขึ้น-วันแรม ๗ ค่ำ และตรงกับวันศุกร์
          ๔. ปลงศพ ๑๕ นั้น ไม่ได้มีความหมายว่า ถ้ามีคนไปร่วมงานปลงศพ ๑๕ คน แล้วจะก่อให้เกิดความวิบัติ แต่หากหมายความว่า ในวันขึ้น-วันแรม ๑๕ ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระ (วันธัมมัสวนะและวันอุโบสถ) ห้ามกระทำการปลงศพ เผาศพ เป็นอันขาด
               ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การปลงศพ (เผาศพ) ในวันขึ้น-วันแรม ๑๕ ค่ำ และเป็นวันศุกร์ ซึ่งตรงกับวันที่ทำการปลงศพขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั้น โบราณาจารย์ท่านว่าไว้ว่า ไม่สมควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง


ยามดี

ยามดี


          ในการที่คนเราจะกระทำการประกอบพิธีกรรมมงคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานยกเสาเอก (หรือ ลงเสาแฮก) โบราณาจารย์ท่านบอกไว้ว่า ต้องหาวันและเวลา (ยาม) ที่ดี เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลสูงสุดกับเจ้าของงาน ซึ่งโบราณาจารย์ท่านได้รวบรวมข้อมูลไว้ดังนี้


ยามและทิศ

ยามและทิศทาง


          หากคนเราต้องการที่จะเดินทางไปยังถิ่นฐานใด ต้องมีการคำนวณหากาลเวลาและทิศทางที่เหมาะสม และดีที่สุด ซึ่งในปัจจุบันนี้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องคำนวณแล้ว เพราะโบราณาจารย์ท่านได้รวบรวมไว้หมดแล้ว ดังนี้




ฤกษ์การเดินทาง

ฤกษ์การเดินทาง


          เมื่อยามใดที่คนเราจะออกเดินทางไปทำการใด ๆ ในทิศทางใด ๆ ต้องมีความจำเป็นในการดูทิศทางที่เหมาะสมและทิศต้องห้ามในการเดินทาง โดยคำนึงถึงวันที่เดินทาง เทพเจ้า ผีหลวง และหลาวเหล็ก ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก และควรเดินทางไปยังทิศที่เทพเจ้าสถิตอยู่


           แต่หากมีความจำเป็นต้องเดินทาง โบราณาจารย์มีวิธีการแก้เคล็ด คือ ให้ออกเดินทางไปยังทิศทางอื่น ๆ ก่อน แล้วค่อยย้อนกลับไปยังทิศทางที่ต้องการ 


          โบราณาจารย์ท่านมีวิธีการดูทิศผีหลวง ทิศหลาวเหล็ก โดยการเลือก ดูจากแม่ไก่ที่กำลังกกไข่ ให้สังเกตุว่า แม่ไก่ตั้วนั้นกกไข่หันหน้าระวังป้องกันไปทางทิศใด ก็ให้เลี่ยงการเดินทางไปในทิศทางนั้น ๆ หรือดูจากตารางที่โบราณาจารย์ท่านถ่ายทอดเอาไว้


ดิถีมหาสูญ

ดิถีมหาสูญ


          หมายถึง วันขึ้น-วันแรม ที่ตรงกับเดือนตามตาราง (ด้านล่าง) ถือว่าเป็น วันมหาสูญ ถึงแม้ว่า บางครั้งวันขึ้น-วันแรม จะตรงกับ วันดี ของ ดิถีมหาโชค แต่วันในสัปดาห์นั้น ๆ ไม่ตรงกัน ถือว่าเป็น วันเลว จึงห้ามประกอบพิธีกรรมหรืองานมงคลใด ๆ ทั้งสิ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

ดิถีมหาโชค

ดิถีมหาโชค

          ผู้ที่จะประกอบพิธีกรรมอันเป็นงานมงคลต่าง ๆ เช่น การแต่งงาน ปลูกบ้าน หรือ การขึ้นบ้านใหม่ หากจะให้ดี โบราณาจารย์ท่านแนะนำให้เลือกและยกเว้นการประกอบพิธี โดยให้ดูวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ ว่าตรงกับวันขึ้น-วันแรมกี่ค่ำในทุกเดือน ส่วนเวลาควรเลือกและยกเว้นในพิจารณาถึงยามดี ประกอบกับคำทำนายว่าดีหรือร้าย (ถ้าดีให้ทำ ถ้าร้ายให้ละเว้น) ถึงแม้ว่าจะเป็นวัน อำฤตโชค แต่ตรงกับ วันจม ก็ให้ละเว้นการประกอบพิธีต่าง ๆ ดังรายละเอียดในตาราง

การหาฤกษ์งาม-ยามดี

การหาฤกษ์งาม-ยามดี


          ฤกษ์ คือ เวลาที่มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคนเรา โดยเฉพาะเวลาในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อาจจะเกิดปัญหา ข้อขัดข้องต่าง ๆ หากไม่คำนึงถึง ฤกษ์ยาม นอกจากฤกษ์จะ ทำให้เชื่อว่าสามารถทำให้คนเราอยู่ดีกินดีีแล้ว ยังส่งผลในทางสังคมอีกด้วย เช่น หากเมื่อหาฤกษ์ยาม (วันและเวลา) ที่แน่นอนไว้แล้ว ย่อมทำการนัดหมายกับญาติพี่น้องได้ และญาติพี่น้องย่อมต้องมาตามฤกษ์ที่นัดหมายไว้

ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบพิธีกรรมที่เป็นมงคลต่าง ๆ เช่น การแต่งงาน การสร้างบ้าน การบวช การโกนผมไฟ หรือการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งควรจะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม และปรัชญา-แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับฤกษ์ยามที่จะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ด้วย

ใน ห้วงจักรวาลอันกว้างไกล อันประกอบด้วย อวกาศหรือผืนฟ้าที่อยู่เบื้องบน และแผ่นดินที่อยู่เบื้องล่าง โดยหลังจากที่มีการวิวัฒนาการตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำจนกระทั่งกลายเป็นคน และได้มีการพัฒนาความเชื่อในสังคมเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอก กาย (ที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้) เพื่อช่วยในการป้องกันภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ฝนแล้ว น้ำท่วม ฟ้าผ่า ไฟไหม้ ฯลฯ โดยที่คนได้ทำการท่องจำ จดในทุก ๆ วัน และทุก ๆ คืน เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งดีและร้ายที่เกิดขึ้นกับผู้คน แล้วได้ขยายผลกระทบไปสู่วงกว้าง พร้อมทั้งได้สร้างเป็นสถิติไว้

คน ผู้ที่ได้ทำการจดบันทึกสถิติต่าง ๆ ไว้ ต่อมาได้กลายเป็นนักสถิติ นักโหราศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ พวกเขาได้ทำการแบ่งช่วงเวลาที่มาเยือนโลกนี้เป็นประจำ โดยแบ่งออกเป็น เสี้ยววินาที วินาที นาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน และปี โดยในช่วงของแต่ละปีได้ทำการแบ่งออกเป็นฤดูกาล (ในประเทศไทยแบ่งเป็น ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) ฤดูฝน (วสันตฤดู)) รวมทั้ง คนเหล่านั้นได้บันทึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูเข้าสู่ฤดู และถึงแม้มันเป็นไปเองตามกฎของธรรมชาติ แต่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่สิ่งที่มนุษย์ได้กระทำทั้งความดีและความเลวร้าย และได้ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาและถือเ็ป็นกฎเกณฑ์ และขนบธรรมเนียมประเพณีในการปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่า "ฤกษ์" หรือ "ยาม" โดยแบ่งออกเป็นชื่อต่าง ๆ กัน ตามลักษณะบ่งบอกถึงความดีและความร้าย ซึ่งอนุชนรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ และนำไปปฏิบัติตามความเหมาะสมของเหตุและผลต่อไป

ในการ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ นั้น จะมีส่วนประกอบใหญ่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฤกษ์ และ ยามกับพิธีกรรม ซึ่งเมื่อเราได้ฤกษ์-ยามที่ดีแล้ว เราจะต้องทำพิธีกรรมให้ถูกต้อง จึงจะผลสมบูรณ์

ประเภทของฤกษ์ยามมีดังนี้

วันจมวันฟ
วันจม คือ วันและเวลาที่ไม่ควรประกอบงานมงคลต่าง ๆ เพราะจะนำไปสู่ความหายนะ ความล่มจม และความวิบัติฉิบหาย 

วันฟู คือ วันและเวลาที่เจริญ วันเฟื่องฟู่ และเป็นวันที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ควรแก่การกระทำงานมงคลทุกอย่างที่พึงกระทำ

วันจมวันฟูนั้น ให้ยึดถือเดือนกับวันเป็นหลักในการศึกษา ดังนี้

สืบฮอยตา วาฮอยปู่

ขอขอบพระคุณ ปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษของชนชาวอีสาน ตลอดจนอาจารย์สวิง  บุญเจิม

และ

ขอถ่ายทอดภูมิความรู้ของบรรพบุรุษสู่ลูกหลานอีสาน เพื่อให้ลูกหลานอีสานร่วมสืบทอดประเพณี ขนบธรรมเนียมของชาวอีสานสืบไป